อาการและวิธีแก้เมากัญชา

รู้ทันเท่า! อาการเมากัญชาเป็นแบบไหน พร้อมวิธีแก้เมากัญชาต้องทำอย่างไร

หลังจากกัญชาได้ถูกปลดออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษชนิดที่ 5 เปิดให้ประชาชนสามารถใช้กัญชาได้อย่างเสรีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปลูก การจำหน่าย การใช้กัญชาเพื่อสันทนาการ ใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ และกัญชายังนำมารังสรรค์ให้กลายเป็นเมนูอาหาร เบเกอรี่ หรือเครื่องดื่มต่าง ๆ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมกันมาก แต่การนำกัญชามาประกอบอาหารหรือเครื่องดื่มนั้น หากใส่กัญชาเกินปริมาณที่กำหนด ก็อาจจะทำให้คนที่ทานเข้าไปมีอาการเมากัญชาได้ หรือบางคนอาจจะแพ้กัญชาได้เหมือนกัน นั่นก็เพราะว่ากัญชามีสาร THC ซึ่งเป็นสารเสพติดและสารเมา จึงอาจจะส่งผลข้างเคียงได้ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยในการใช้กัญชา เราก็มาเช็กอาการเมากัญชาเป็นแบบไหน และมีวิธีแก้เมากัญชาอย่างไรบ้าง มาดูกัน

อาการเมากัญชาหรือแพ้กัญชาเป็นอย่างไร

อาการเมากัญชา

อาการเมากัญชา สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะพบกับผู้ที่ใช้กัญชาเป็นครั้งแรกในรูปแบบยาและอาหาร ดังนั้นควรเริ่มจากการรับประทานกัญชาในปริมาณน้อย ๆ จากนั้นให้เราสังเกตอาการตอบสนองต่อกัญชา ซึ่งอาการเมากัญชาหรือแพ้กัญชาของแต่ละคนนั้น จะมีอาการมากน้อยแตกต่างกันไป ลองมากันสิว่าอาการเมากัญชาหรือแพ้กัญชานั้นเป็นอย่างไร ดังนี้

  1. อาการเมากัญชา (มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง)
    • ตาแดง
    • วิงเวียนศีรษะ
    • คลื่นไส้ อาเจียน
    • ง่วงนอนมากกว่าปกติ
    • มีการตอบสนองที่ช้าลง
    • ปากแห้ง คอแห้ง กระหายน้ำ
    • หัวใจเต้นเร็ว ความดันเพิ่มขึ้น
  2. อาการแพ้กัญชา ลักษณะของอาการคล้าย ๆ กับคนแพ้ยาทั่วไปเลย โดยมีอาการดังนี้
    • ตาบวม
    • ปากบวม
    • อาการผื่นขึ้น

อาการเมากัญชาหรือแพ้กัญชารุนแรงแค่ไหนจึงควรพบแพทย์

อาการเมากัญชาหรือแพ้กัญชาของแต่ละคนนั้น มีอาการเมาหรือแพ้มากน้อยไม่เท่ากันเลย โดยผลข้างเคียงของกัญชาที่รุนแรงจนต้องไปพบแพทย์ ได้แก่

  • พูดคนเดียว
  • เหงื่อแตกตัวสั่น
  • เดินเซ พูดไม่ชัด
  • เป็นลมหมดสติ
  • อารมณ์แปรปรวน
  • หูแว่ว เห็นภาพหลอน
  • อึดอัดจนหายใจไม่สะดวก
  • เจ็บหน้าอกจนร้าวไปที่แขน
  • หัวใจเต้นเร็วและรัวผิดจังหวะ
  • เกิดความสับส กระวนกระวาย
  • มีความวิตกกังวล หวาดระแวงไม่สมเหตุสมผล
  • เห็นภาพหลอน เกิดภาพลวงตา ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้

ดังนั้น หากรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา แล้วเกิดอาการแพ้รุนแรงดังกล่าว ควรต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาโดยทันที ถึงแม้กัญชาจะมีสรรพคุณและประโยชน์มากมาย แต่ในขณะเดียวกันกัญชาก็มีโทษที่ไม่ธรรมดาเลย จนอาจทำให้เกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์ได้

ระยะเวลาที่มีอาการเมากัญชา

โดยทั่วไปแล้วอาการเมากัญชาหรืออาการแพ้กัญชา จะเกิดขึ้นหลังจากใช้หรือรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชาประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง และสารกัญชาอาจจะหลงเหลืออยู่ในร่างกายนานหลายวัน หรือหลายเดือน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้กัญชานั่นเอง

วิธีแก้เมากัญชาหรืออาการแพ้กัญชาได้อย่างไร

วิธีแก้เมากัญชา

หากมีอาการเมากัญชาหรือแพ้กัญชานั้น เราสามารถมีวิธีแก้เมากัญชาด้วยตัวเองเบื้องต้นได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • กรณีรู้สึกตัวปากแห้งหรือคอแห้ง ควรให้ดื่มน้ำเปล่าให้มาก ๆ หรือดื่มน้ำมะนาวผสมน้ำผึ้ง หรือน้ำตาลทราย
  • หากมีอาการมึนเมา แนะนำให้บีบมะนาวครึ่งลูกผสมเกลือปลายช้อนแล้วกินได้เลย หรือเคี้ยวพริกไทยสามารถช่วยแก้อาการเมาได้
  • หากมีอาการวิงเวียนศีรษะ อาการคลื่นไส้ อาการอาเจียน ควรดื่มชาชงขิงหรือน้ำขิง หรือชงรางจืด ให้ดื่มวันละ 3 เวลา จะช่วยแก้อาการโคลงเคลงได้ดี แล้วอาการวิงเวียนศีรษะจะค่อย ๆ ดีขึ้นเป็นระยะ

ทั้งนี้ กรณีที่เกิดอาการเมากัญชาหรือแพ้กัญชา แล้วลองทำตามวิธีแก้เมากัญชาตามนี้แล้ว แต่ยังรู้สึกว่าอาการหนักอยู่ แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ทันทีเลย

ปริมาณกัญชาในอาหารแค่ไหนถึงจะปลอดภัย

สำหรับปริมาณของกัญชาที่ใส่ในอาหารหรือเครื่องดื่มนั้น กรมอนามัยได้แนะนำปริมาณใบกัญชาต่อเมนู ดังนี้

  • อาหารประเภททอด น้ำหนัก 51 กรัม ควรใช้ใบกัญชา 1 – 2 ใบสด / ทอดไข่เจียว ควรใส่แค่ครึ่งใบ – 1 ใบสด เนื่องจากสาร THC และ CBD ละลายได้ดีในน้ำมัน
  • อาหารประเภทผัด น้ำหนัก 74 กรัม แนะนำให้ใช้ใบกัญชา 1 ใบสด
  • อาหารประเภทแกง น้ำหนัก 614 กรัม แนะนำให้ใช้ใช้ใบกัญชา 1 ใบสด
  • อาหารประเภทต้ม น้ำหนัก 614 กรัม แนะนำให้ใช้ใช้ใบกัญชา 1 ใบสด
  • ผสมกัญชาในเครื่องดื่ม ขนาด 200 มิลลิลิตร แนะนำให้ใช้ใช้ใบกัญชา 1 ใบสด

จริงอยู่ที่ว่ากัญชาเป็นพืชสมุนไพรสรรพคุณและประโยชน์มากมาย สามารถนำมาใช้ได้หลายรูปแบบ ใช้ทั้งเป็นส่วนผสมของอาหารและเครื่องดื่ม และใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ด้วย แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีสารที่ทำให้เสพติด โดยเฉพาะในส่วนของช่อดอกกัญชาจะมีสาร THC ค่อนข้างสูง ดังนั้น การใช้กัญชาอาจทำให้เกิดอาการเมากัญชาหรืออาการแพ้กัญชาได้ ดังนั้น ก่อนใช้ควรปรึกษาแพทย์และเริ่มใช้ในปริมาณน้อย ๆ ก่อน เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง ใครอยากรู้ว่าน้ำมันกัญชาและกัญชามีสรรพคุณอะไรบ้าง สามารถใช้รักษาโรคอะไรได้บ้าง ติดตามอ่านบทความดี ๆ ที่เว็บไซต์ Greenbird ได้เลย

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *