ดอกกัญชา ประโยชน์

มาทำความรู้จัก “ดอกกัญชา” กันเถอะ! มีประโยชน์ทางการแพทย์อย่างไร

กัญชา จัดอยู่ในพืชล้มลุกคล้ายต้นหญ้า ที่มีสารเคมีสำคัญอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของต้นกัญชา ไม่ว่าจะเป็นช่อดอกกัญชา ใบกัญชา และรากกัญชา ซึ่งแต่ละส่วนของกัญชานั้นจะมีสรรพคุณประโยชน์และโทษแตกต่างกันออกไป เนื่องจากตามส่วนต่าง ๆ ของกัญชาจะมีสารเคมีสำคัญที่ชื่อว่า Cannabinoids ซึ่งมีฤทธิ์สำคัญได้แก่ THC และ CBD วันนี้เราจะชวนทุกคนมาทำความรู้จัก “ดอกกัญชา” มีลักษณะอย่างไร สรรพคุณของช่อดอกกัญชาที่มีต่อทางการแพทย์ สามารถนำมาใช้รักษาโรคอะไรบ้างได้ ติดตามอ่านไปพร้อมกันได้เลย

ลักษณะของดอกกัญชา

ต้นกัญชา มีลักษณะออกดอกเป็นช่อเล็ก ๆ อยู่ตรงบริเวณง่ามใบหรือปลายกิ่ง ดอกสีเหลืองหรือสีเขียว ซึ่งดอกกัญชามีด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ ดอกกัญชาชนิดที่มีดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ในต้นเดียวกัน (Monoecious) และดอกกัญชาชนิดดอกเพศผู้และเพศเมียแยกกันอยู่คนละต้น (Dioecious) ช่อดอกและใบของต้นเพศผู้จะจัดเรียงตัวกันแบบห่าง ๆ ซึ่งจะแตกต่างจากต้นเพศเมียที่จะเรียงชิดกัน ดอกเล็ก และดอกเพศเมียจะมีกลีบเลี้ยงหุ้มอยู่ โดยส่วนใหญ่แล้วประเทศไทยพบว่า พืชกัญชามีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ซึ่งจะออกดอกเป็นช่ออยู่ตามซอกใบและปลายยอด ดอกเพศผู้เป็นช่อดอกเพศผู้เป็นแบบ Panicle ประกอบไปด้วยกลีบเลี้ยง 5 กลีบ แยกกันเป็นอิสระมีสีเขียวอมเหลือง ในส่วนของดอกเพศเมีย เกิดตามซอกใบและปลายยอด ตรงบริเวณช่อดอกจะอัดตัวกันแน่น ช่อดอกเป็นแบบ Spike ประกอบด้วย กลีบเลี้ยงสีเขียวเข้มห่อหุ้มรังไข่ไว้ ภายในมี Stigma 2 อัน สีน้ำตาลแดง และยังมี Glandular trichomes เป็นส่วนของพืชกัญชาที่มีอยู่หนาแน่นตรงบริเวณช่อดอก

ดอกกัญชาบนต้นกัญชา

วิธีการแยกเพศของกัญชา

ดอกกัญชา แบ่งออกเป็น 2 เพศหลัก ๆ ได้แก่ กัญชาตัวผู้ และกัญชาตัวเมีย ซึ่งแต่ละเพศจะมีลักษณะโดดเด่นที่แตกต่างกัน สามารถสังเกตได้ง่าย ๆ ดังนี้

กัญชาตัวผู้

  • ผอมมากกว่ากัญชาตัวเมีย
  • ใบไม่มาก และไม่มีกิ่งแขนง
  • ลำต้นสูงกว่าและเจริญเติบโตรวดเร็ว
  • มีเม็ดกลม ๆ ตรงข้อต่อของก้านใบกับลำต้น ไม่มีขน
  • กัญชาตัวผู้ไม่ออกดอก และมีค่าของสาร THC ต่ำมาก
  • กัญชาตัวผู้ผลิตละอองเรณูที่เป็นตัวแปรในการผสมพันธุ์

กัญชาตัวเมีย

  • แข็งแรงมากกว่ากัญชาตัวผู้
  • มีลักษณะหุบไม่สุด และบาน
  • มีสีเหลืองอ่อน ๆ สีครีม และสีขาว
  • เม็ดกลมเล็กอยู่ระหว่างข้อต่อของก้านใบกับลำต้น และมีขนสีขาวที่เป็นเกสร

“ดอกกัญชา” มีสารสำคัญที่มีสรรพคุณทางการแพทย์

ดอกกัญชาทางการแพทย์

ดอกกัญชา จัดเป็นๅๅส่วนหนึ่งของต้นกัญชาที่ได้รับความนิยมนำมาใช้ทางการแพทย์ เนื่องจาก “ดอกกัญชา” ที่มีสารสำคัญด้วยกัน 4 กลุ่ม ดังนี้

1. สารกลุ่มแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids)

  • Tetrahydrocannabinol (THC) : ช่วยบรรเทาอาการปวด ต้านการอาเจียน ต้านมะเร็ง ช่วยลดความดันในลูกตา ช่วยให้เจริญอาหาร
  • Cannabidiol (CBD) : ต้านการอักเสบแก้ปวด ต้านมะเร็ง ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ป้องกันอาการจิตเสื่อม ช่วยลดอาการวิตกกังวล ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ป้องกันโรคนอนไม่หลับ และลดอาการชัก
  • Complete Blood Count (CBC) : ช่วยลดการอักเสบ
  • Cannabigerol (CBG) : ช่วยทำให้นอนหลับสบาย คลายกล้ามเนื้อ และแก้อาการปวด
  • Cannabinol (CBN) : ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ช่วยปกป้องเซลล์สมอง สามารถต้านการอักเสบและช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง

2. สารกลุ่มเทอร์พีน (Terpenes)

สารกลุ่มนี้ช่วยต้านโรคมะเร็งบางชนิดได้ ต้ายจุลชีพ ต้านเชื้อรา ต้านไวรัส ช่วยลดน้ำตาลในเลือดสูง ยาแก้ปวด ช่วยลดการอักเสบ ต้านปรสิต และช่วยต้านสารอนุมูลอิสระ

3. สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids)

สารกลุ่มนี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการเกิดโรคเรื้อรังชนิดต่าง ๆ ยังมีประโยชน์ต่อการทำงานของระบบสมอง ระบบเส้นเลือดและหัวใจ

4. สารกลุ่มฟีนอล (Phenol compounds)

สารกลุ่มนี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)

ดอกกัญชาสามารถนำมารักษาโรคอะไรได้บ้าง

ช่อดอกกัญชา มีสรรพคุณมากมายไม่ต่างไปจากส่วนอื่นๆ ของต้นกัญชาเลย จึงทำให้ดอกกัญชาได้รับความนิยมนำมาใช้ในทางการแพทย์ เพื่อรักษาอาการโรคต่าง ๆ ดังนี้

  1. ช่วยลดอาการเจ็บปวดจากโรคไขข้ออักเสบได้
  2. รักษาแก้โรคเส้นประสาท เช่น นอนไม่หลับ คิดมาก เป็นต้น
  3. ช่วยกระตุ้นให้เกิดความอยากอาหาร ทำให้เจริญอาหารมากขึ้น
  4. ดอกกัญชานำมาผสมกับยาฉุนพญามือเหล็ก ใช้เป็นยาช่วยขจัดเสมหะในลำคอ

ทั้งหมดนี่เป็นเรื่องราวน่ารู้ของ “ดอกกัญชา” เรียกได้ว่ามีสรรพคุณทางการแพทย์มากมาย แต่ถ้าใครจะนำดอกกัญชามาใช้รักษาทางแพทย์นั้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้กัญชารักษาทุกครั้งโดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัว และไม่ควรหาซื้อดอกกัญชามาใช้รักษาเอง ถึงแม้กัญชาจะถูกปลดล็อกให้ใช้ได้อย่างเสรี เพียงแต่ว่าช่อดอกกัญชายังถูกควบคุม หากมีการซื้อขายอาจจะเข้าข่ายผิดกฎหมายได้ ส่วนใครอยากหาความรู้เกี่ยวกับการใช้น้ำมันกัญชารักษาโรคต่าง ๆ ติดตามอ่านบทความดี ๆ ที่เว็บไซต์ Greenbird ที่ได้รวบรวมข้อมูลมากมายไว้ที่นี่

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *