กัญชาตัวผู้ กัญชาตัวเมีย กัญชากะเทย ดูยังไง

รู้ได้ยังไง? กัญชาตัวผู้ กัญชาตัวเมีย กัญชากะเทย จำแนกเพศกัญชาได้อย่างไร

วันนี้เราพาทุกคนไปทำความรู้จักพืชเศรษฐกิจ ที่กำลังมาแรงนั่นก็คือ “กัญชา” หลังจากที่ได้ปลดล็อกให้ทุกคนทุกบ้านสามารถปลูก จำหน่าย ใช้เพื่อสันทนาการหรือเพื่อทางการแพทย์ได้อย่างเสรีโดยไม่ผิดกฎหมาย จึงเป็นเหตุทำให้กัญชาถูกนำมาใช้ในวงกว้าง แต่รู้หรือไม่ว่าต้นกัญชาที่เห็น ๆ กันนั้นสามารถแบ่งแยกออกเป็น 3 เพศ คือ กัญชาตัวผู้ กัญชาตัวเมีย และกัญชากะเทย เชื่อว่าก็มีอีกหลายคนที่แยกไม่ออกว่า กัญชาต้นไหนเป็นกัญชาตัวผู้ กัญชาตัวเมีย หรือกัญชากะเทย ดังนั้น บทความนี้เราอยากมาเล่าถึงวิธีการสังเกต เพื่อให้คุณสามารถแยกเพศกัญชาออกได้ มาดูพร้อมกันเลย

เพศของกัญชา

โดยสถาบันแคนน์เฮลท์แหล่งเรียนรู้และศูนย์รวมองค์ความรู้ในทุกมิติของกัญชาทางการแพทย์ ได้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเพศของกัญชาไว้ว่า กัญชาเป็นพืชที่สามารถแยกเพศต่างต้น หรือพูดให้เข้าใจได้ง่ายๆ คือ กัญชาเป็นพืชที่มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่คนละต้น จึงทำให้มีทั้งต้นกัญชาตัวผู้และต้นกัญชาตัวเมีย ซึ่งกัญชาตัวผู้จะมีโครโมโซม XY ส่วนกัญชาตัวเมียจะมีโครโมโซม XX โดยตามธรรมชาติสัดส่วนของกัญชาตัวผู้ และกัญชาตัวเมียจะมีอย่างล่ะครึ่ง ๆ กัน นอกจากนี้ก็ยังมีต้นกัญชาบางสายพันธุ์ ที่มี 2 เพศ อยู่ในต้นเดียวกัน โดยมีเกสรตัวเมียและเกสรตัวผู้อยู่ในต้นเดียวกัน จึงถูกเรียกว่าเป็น “กัญชากะเทย”

วิธีจำแนกแยกเพศของกัญชา

เมื่อพอรู้กันแล้วว่ากัญชานั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 เพศ ได้แก่ กัญชาตัวผู้ กัญชาตัวเมีย หรือกัญชากะเทย คราวนี้ลองมาดูวิธีการจำแนกแยกเพศของกัญชากันบ้าง ต้องบอกเลยว่าการดูแยกเพศของกัญชานั้น ไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลย แต่กว่าที่เราจะสามารถแยกเพศได้ ต้องรอจนกว่าต้นกัญชาจะโตพอที่เกือบพร้อมผสมพันธุ์ หรือมีการละอองเรณู ราวสัปดาห์ที่ 4-6 ของการปลูก จึงจะสามารถแยกได้ว่ากัญชาต้นไหนเป็นเพศอะไร ลองมาดูวิธีการจำแนกแยกเพศของกัญชากันเลย

กัญชาตัวผู้ มีลักษณะ ดังนี้

กัญชาตัวผู้

  • มีลักษณะผอมมากกว่ากัญชาตัวเมีย
  • ต้นกัญชาจะมีใบไม่มาก และไม่มีกิ่งแขนงมาก
  • ลำต้นที่สูงกว่าและเจริญเติบโตค่อนข้างรวดเร็วกว่ากัญชาตัวเมีย
  • มีเม็ดกลม ๆ ตรงระหว่างข้อต่อของก้านใบกับลำต้น แต่จะไม่มีขน
  • กัญชาตัวผู้จะไม่ออกดอก และมีค่าของสาร THC ค่อนข้างที่ต่ำมาก
  • กัญชาตัวผู้ผลิตละอองเรณูซึ่งเป็นตัวแปรจำเป็นในการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ

กัญชาตัวเมีย มีลักษณะ ดังนี้

กัญชาตัวเมีย

  • กัญชาตัวเมียดูมีความแข็งแรงมากกว่ากัญชาตัวผู้
  • ดอกของกัญชาตัวเมียมีลักษณะหุบไม่สุด และบาน
  • ดอกของกัญชาตัวเมียมีสีเหลืองอ่อน สีครีม และสีขาว
  • มีเม็ดกลมเล็ก ๆ ตรงระหว่างข้อต่อของก้านใบกับลำต้น มีขนสีขาวที่เป็นเกสร

กัญชากะเทย มีลักษณะ ดังนี้

  • กัญชากะเทยมีดอก แต่ว่าดอกเต็มไปด้วยเมล็ด
  • กัญชากะเทยมี 2 เพศในต้นเดียวกัน โดยมีเกสรตัวเมียและเกสรตัวผู้

การนำกัญชาแต่ละเพศไปใช้ประโยชน์

เมื่อเริ่มแยกออกได้แล้วว่า กัญชาตัวผู้ ตัวเมีย หรือกัญชากะเทย มีวิธีการสังเกตอย่างไร คราวนี้มาดูประโยชน์ที่กัญชาตัวผู้ กัญชาตัวเมีย และกัญชากะเทย นำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บาง

ประโยชน์ของกัญชาตัวผู้

กัญชาตัวผู้ จะไม่มีผลผลิตที่สามารถนำไปใช้ในรักษาทางการแพทย์ได้ แต่ว่ากัญชาตัวผู้ก็ยังมีความสำคัญในการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และยังมีประโยชน์อื่น ๆ ดังนี้

  1. สร้างสายพันธุ์กัญชาใหม่ ๆ หรือการรักษาสายพันธุ์กัญชาเดิม
  2. ทำยาสารสกัด ถึงแม้กัญชาตัวผู้ไม่มีสาร THC แต่ก็ยังมีสารแคนนาบินอยด์ตัวอื่น ที่มีคุณสมบัติเป็นยาในการรักษาโรคได้
  3. ใช้รากเพื่อนำมาเป็นยารักษาโรคต่าง ๆ ซึ่งรากกัญชาก็เหมือนเมล็ดที่มีคุณสมบัติการรักษาที่เหมาะสมกับร่างกาย โดยมีสาร THC น้อยกว่า 1% โดยมีประโยชน์ต่อตับ ช่วยยับยั้งการเติบโตของเนื้องอกและทำ
  4. หน้าที่ต้านอาการอักเสบของตับได้
  5. ทำเป็นน้ำมันกัญชา เพื่อนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ มากมาย

ประโยชน์ของกัญชาตัวเมีย

กัญชาตัวเมีย คือ ตัวที่สามารถออกดอก และมีสาร THC มากที่สุด ซึ่งได้รับการถ่ายละอองเรณูมาจากกัญชาตัวผู้ (ได้มาจากการผสมพันธุ์) ดอกของตัวเมียก็จะกลายเป็นเมล็ด อาจเป็นผลผลิตที่ผู้คนนิยมน้อยกว่าดอก ฉะนั้น ถ้าต้องการนำสารแคนนาบินอยด์ในดอกกัญชาไปใช้ในการรักษา เม็ดกลม ๆ ที่อยู่ด้านในเกสรข้างในของกัญชาตัวผู้จะถูกตัดทิ้ง และแยกออกจากบริเวณที่มีกัญชาตัวเมียโดยทันที เพื่อเป็นการป้องกันในการถ่ายละอองเรณูตามธรรมชาติ และเป็นการรักษาดอกของกัญชาตัวเมียไว้เพื่อการเก็บเกี่ยวนั่นเอง กรณีที่ต้องการจะขยายพันธุ์หรือผลิตสายพันธุ์กัญชาใหม่ ๆ นั้น เม็ดกลม ๆ ที่มีเกสรตัวผู้ก็อาจจะถูกตัดแยกออกจากต้น และอาจจะมีการถ่ายละอองด้วยมือกับสายพันธุ์กัญชาเพศเมีย

ประโยชน์ของกัญชากะเทย

กัญชากะเทย ส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยนิยมนำมาใช้ผลิต เนื่องจากกัญชากะเทยมีดอกที่เต็มไปด้วยเมล็ด ซึ่งแปลว่าสารแคนนาบินอยด์มีจำนวนน้อย จึงไม่นิยมนำมาใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ ทางการแพทย์ อีกทั้ง คุณภาพของกัญชากะเทยก็ไม่ได้ดีเท่ากับกัญชาตัวผู้และกัญชาตัวเมีย

หลังจากได้อ่านบทความนี้แล้ว หวังว่าทุกคนจะสามารถแยกได้แล้วว่าอันไหนเป็นกัญชาตัวผู้ กัญชาตัวเมีย หรือกัญชากะเทย มีวิธีการดูอย่างไร และมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เพื่อที่จะได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง สำหรับใครต้องการข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับ “กัญชา” และ “กัญชง” ก็สามารถติดตามอ่านบทความดี ๆ ผ่านทางเว็บไซต์ Greenbird ได้เลย

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *