กัญชาผสมอาหารคืออะไร

ปลอดภัยไว้ก่อน! รวมทุกเรื่องควรรู้เกี่ยวกับ ‘กัญชาผสมอาหาร’

นับตั้งแต่มีการปลดล็อกกัญชาออกจากบัญชียาเสพติด ธุรกิจมากมายต่างเริ่มหันมาศึกษาและใช้ประโยชน์จากกัญชาเพื่อการดูแลสุขภาพในด้านต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ การใช้กัญชาผสมอาหาร หรือ Edible Cannabis เพื่อช่วยให้ทุกคนบริโภคและเข้าถึงประโยชน์ในหลากหลายด้านของกัญชาได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น

แต่ถึงจะเป็นเช่นนั้น ในสายตาของหลาย ๆ คน กัญชาก็ยังคงเป็นสารที่ก่อให้เกิดความมึนเมา จึงทำให้คนจำนวนไม่น้อยไม่มั่นใจว่า จะใช้กัญชาผสมอาหารอย่างไรให้ปลอดภัยและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างแท้จริง ซึ่งหากใครกำลังสงสัยเช่นเดียวกันอยู่ หรือไม่รู้ว่าควรรับประทานในปริมาณเท่าไหร่ถึงจะปลอดภัยต่อสุขภาพ ลองมาทำความรู้จักกัญชาผสมอาหารให้มากยิ่งขึ้นในบทความนี้

รู้จักกัญชาผสมอาหาร (Edible Cannabis) กันก่อน

แม้จะขึ้นชื่อว่าเป็นกัญชา แต่แท้ที่จริงแล้ว กัญชาในแต่ละสายพันธุ์ รวมถึงในแต่ละส่วนกลับมีสรรพคุณและการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกัน แต่สำหรับกัญชาที่นำมาใช้ผสมอาหารได้อย่างถูกกฎหมายและมีความปลอดภัยต่อสุขภาพนั้น จะเป็นการนำส่วนของ ‘ใบสด’ มาใช้ แต่ก็ควรเป็นกัญชาใบอ่อน และ ‘ใบเพสลาด’ หรือกัญชาใบที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป

หลายคนคงอาจจะสงสัยว่า ทำไมกัญชาผสมอาหารถึงต้องใช้เพียงแค่ส่วนใบเพียงอย่างเดียว คำตอบ คือ ใบกัญชาสดนั้นจะมีเพียงแค่ Tetrahydrocannabinolic Acid (THCA) และ Canabidiol (CBD) ที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทน้อยมาก

และถึงแม้ว่าสาร THCA จะสามารถเปลี่ยนไปเป็น Tetrahydrocannabinol (THC) ที่ก่อให้เกิดความมึนเมาและมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทได้ แต่ด้วยความร้อน แสงแดด ตลอดจนสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป สาร THC ที่เกิดขึ้นก็จะมีปริมาณที่น้อยลงไปด้วย

ด้วยเหตุนี้ ใบสดกัญชาที่ซื้อจากแหล่งปลูกที่ได้รับการรับรองอย่างถูกต้องตามกฎหมายจึงสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารได้

ปลอดภัยไว้ก่อน!
ตามกฎหมายแล้ว กัญชาผสมอาหาร หรือ Edible Cannabis นั้นจะใช้เพียงส่วนใบเท่านั้น แต่จะไม่สามารถนำส่วนช่อดอก เมล็ดกัญชา กิ่ง ราก หรือลำต้นมาใช้ได้ เนื่องจากส่วนอื่น ๆ ของกัญชาจะมีปริมาณสาร THC ที่สูงมาก ซึ่งหากไม่ได้ควบคุมปริมาณการใช้งานที่ถูกต้องอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ดังนั้น เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและป้องกันการทำผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว อย่าลืมตรวจสอบรายละเอียดของกัญชาที่ใช้ผสมอาหารให้ดีก่อนทุกครั้ง

กัญชาผสมอาหารทำให้อาหารเหม็นเขียวหรือไม่?

ถึงจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพและเริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย คนส่วนใหญ่มักสงสัยอยู่เสมอว่า กัญชานั้นจะทำให้อาหารมีกลิ่นและรสชาติที่เหม็นเขียวหรือไม่ เพราะ กัญชาก็ยังคงเป็นพืชสมุนไพรรูปแบบหนึ่งอยู่ดี

คำตอบ คือ ภายในใบกัญชานั้นจะมีองค์ประกอบทางเคมีเล็ก ๆ ที่เรียกว่า กรดกลูตามิก หรือ Glutamic Acid ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตผงชูรส ดังนั้น การใส่ใบกัญชาลงไปในอาหารจึงสามารถช่วยชูรสความอร่อยของเมนูอาหารได้เป็นอย่างดี และไม่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเขียวด้วย

อย่างไรก็ดี การทานใบสดที่อยู่ในอาหารก็จะให้รสชาติเหมือนการทานผักทั่วไป ซึ่งหากใครอยากเพิ่มดีกรีความอร่อยให้ใบกัญชาก็สามารถนำไปปรุงเพิ่มเติมได้ เช่น นำไปชุบแป้งทอด หรือ ใส่ในเมนูเบเกอรี เป็นต้น

กัญชาผสมอาหารต่างจาการสูบกัญชาไหม

กัญชาผสมอาหารออกฤทธิ์แตกต่างจากสูบกัญชาอย่างไร?

การสูบกัญชาเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการใช้งานที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ด้วยเหตุนี้ หลายคนจึงสงสัยว่า การสูบกัญชานี้จะมีการออกฤทธิ์ที่แตกต่างจากการนำกัญชาไปผสมอาหารอย่างไรบ้าง

โดยหลักการออกฤทธิ์เบื้องต้นของการสูบและการนำกัญชามาผสมอาหารจะเริ่มต้นจากการที่ความร้อนเข้าไปเปลี่ยนให้สาร THCA กลายมาเป็นสาร THC ซึ่งก่อให้เกิดความมึนเมาได้เหมือนกัน แต่การสูบกัญชาจะเป็นการสูดสาร THC เข้าไปสู่ที่ปอดโดยตรง ซึ่งเมื่อร่างกายเกิดการแลกเปลี่ยนแก๊สที่ปอดขึ้น สาร THC ก็จะถูกส่งตรงไปยังสมอง และออกฤทธิ์ในเวลาไม่นาน

ในทางตรงกันข้าม การใช้กัญชาผสมอาหาร สารต่าง ๆ ในกัญชาจะต้องถูกย่อยที่กระเพาะอาหารก่อน จากนั้นจึงดูดซึมตามจุดต่าง ๆ ตามระบบทางอาหาร และค่อยส่งไปยังสมองผ่านกระแสเลือดอีกที ด้วยเหตุนี้ ร่างกายจึงมีโอกาสได้รับสาร THC ที่ได้น้อยกว่าการสูบเล็กน้อย แต่ก็จะออกฤทธิ์ได้ยาวนานกว่า

ข้อควรระวังในการใช้กัญชาผสมอาหาร

แม้จะสามารถใช้ประกอบอาหารได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยต่อสุขภาพ แต่การใช้กัญชาในเมนูอาหารต่าง ๆ ก็มาพร้อมข้อควรระวังเช่นเดียวกัน ซึ่งก่อนที่จะตัดสินใจใช้กัญชาผสมอาหารใดก็ตาม อย่าลืมพิจารณาข้อควรระวังในแง่มุมต่าง ๆ ดังนี้

  1. ประเมินร่างกายของตัวเองดูก่อน
    โดยนอกจากจะศึกษาประโยชน์และข้อจำกัดในการใช้งานทั้งในเชิงกฎหมายและสุขภาพแล้ว ผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ ยังต้องตรวจสอบและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญให้ดีด้วยว่า

    • ตัวเองมีการแพ้กัญชาหรือไม่
    • มีโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ สมอง ระบบประสาท หัวใจ และโรคจิตเวชหรือไม่ เพราะบางครั้ง การใช้กัญชาเพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้อาการต่าง ๆ แย่ลงได้ จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้งาน
    • ที่สำคัญ ร่างกายสามารถรับประทานกัญชาได้ในปริมาณเท่าใด ถึงจะไม่ส่งผลเสียต่อระบบประสาทและสุขภาพด้านอื่น ๆ
  2. ควรเลือกรับประทานเฉพาะใบกัญชาสดที่ไม่แก่
    ใบกัญชาแก่ หรือ ใบกัญชาอ่อนที่นำมาตากแห้งเอาไว้เป็นเวลานานมาก ๆ อาจมีปริมาณสาร THC ที่ค่อนข้างสูง ซึ่งหากใช้งานในปริมาณที่สูงเกินไปอาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  3. เลือกใช้ในปริมาณที่เหมาะสม
    ปริมาณที่เหมาะสมต่อการนำกัญชามาประกอบอาหารจะอยู่ที่ 1 – 2 ใบสด และสามารถรับประทานใบสดได้เพียง 1 ใบเท่านั้น เพราะหากรับประทานมากเกินกว่านี้จะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
  4. เลือกใช้กัญชาจากร้านที่มีแหล่งปลูกและแหล่งจัดจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตจาก อย.
    กัญชาผสมอาหารจากร้านที่ได้ผ่านการอนุญาตจาก อย. จะช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยในการบริโภคกัญชามากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะมีการจำกัดปริมาณการขายแล้ว ร้านที่ผ่านการอนุญาตยังมีความรู้ที่ถูกต้อง ทำให้สามารถแนะนำการใช้งานกัญชาได้อย่างปลอดภัยต่อสุขภาพได้

เพียงเท่านี้ ทุกคนก็ได้รู้จักกัญชาผสมอาหารและสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยแล้ว หากใครกำลังมองหาผลิตภัณฑ์กัญชาที่สามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย พร้อมมีผู้เชี่ยวชาญด้านกัญชาคอยแนะนำการใช้งานที่ถูกต้อง CBD Greenbird พร้อมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกดี ๆ เพื่อช่วยให้ทุกคนเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาได้อย่างปลอดภัย และถูกต้องตามกฎหมาย

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *