น้ำมันกัญชาสำหรับสัตว์เลี้ยง

น้ำมันกัญชาสำหรับสัตว์เลี้ยง ทางเลือกของคนรักสัตว์

อย่างที่ทุกคนรู้ดีอยู่แล้วว่ากัญชาไม่ได้มีประโยชน์กับมนุษย์เท่านั้น เพราะปัจจุบันมีน้ำมันกัญชาสำหรับสัตว์เลี้ยงให้เลือกซื้อมากมายหลากหลายยี่ห้อในต่างประเทศ เช่น อาหารสุนัขผสมน้ำมันกัญชาและอาหารว่างผสม CBD (Cannabidiol) วางขายในเว็บไซต์ Canopy Growth ในราคาขายประมาณ 20 ดอลลาร์หรือ 600 บาทไทย คุ๊กกี้ CBD สำหรับสัตว์เลี้ยงในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ หรือขนมสัตว์ผสมกัญชา จาก True Leaf Medicine International ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์อาหารผสมกัญชาสำหรับสัตว์เลี้ยงมาตั้งแต่ปี 2558 

สำหรับเหตุผลที่ทำให้ CBD น้ำมันกัญชา หรือแม้แต่น้ำมันกัญชงถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของสุนัขและแมวนั้นก็เป็นเพราะในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดมีระบบ Endocannabinoid System (ECS) เหมือนที่พบในมนุษย์ ด้วยเหตุนี้จึงมีแนวคิดว่า CBD บริสุทธิ์หรือน้ำมันกัญชาสำหรับสัตว์เลี้ยง มีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ  ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยอย่างสุนัขและแมวได้เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น มะเร็ง อาการอักเสบ กับความผิดปกติทางระบบประสาท ลมบ้าหมู บรรเทาอาการชัก บรรเทาอาการคลื่นไส้ ปรับอารมณ์ของสัตว์เลี้ยง และลดความวิตกกังวลในสัตว์เลี้ยง นอกจากนั้นขณะนี้เมล็ดกัญชงยังถูกศึกษาในแง่ของการเป็นอาหารสัตว์เศรษฐกิจอีกด้วย

ระบบ Endocannabinoid System ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

หากต้องการศึกษาคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารประกอบต่างๆ หรือ น้ำมันกัญชาสำหรับสัตว์เลี้ยง ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจระบบ Endocannabinoid System หรือเรียกสั้นๆว่าระบบ ECS เป็นระบบที่พบได้ในสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะพบได้เกือบทุกชนิด รวมทั้งมนุษย์ สุนัข และแมวด้วย โดยระบบ Endocannabinoid System จะทำหน้าที่ควบคุมระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายให้เกิดความสมดุล ทั้งระบบการรับรู้เหตุผล อารมณ์ ความรู้สึก การนอนหลับ การรับรู้ความเจ็บป่วย ระบบความทรงจำ ความอยากอาหาร และระบบภูมิคุ้มกันร่าง ซึ่งองค์ประกอบของระบบ ที่เกี่ยวข้องกับการกัญชา กัญชง หรือแม้แต่การใช้น้ำมันกัญชาสำหรับสัตว์เลี้ยงคือ ตัวรับแคนนาบินอยด์ (Cannabinoid Receptors) ตัวรับที่อยู่เมมเบรนของเซลล์ ทำหน้าที่จับกับโปรตีน ซึ่งในร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพบตัวรับแคนนาบินอยด์ได้มีหลากหลายชนิด แต่ชนิดที่มีการศึกษามากที่สุดคือ

  • ตัวรับแคนนาบินอยด์ 1 หรือ CB1 พบมากในสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทส่วนปลาย และระบบประสาทอัตโนมัติ จึงเกี่ยวข้องการควบคุมการ การหดตัวกล้ามเนื้อ การชักเกร็งของร่างกาย การเคลื่อนไหวของร่างกาย อารมณ์ ความจำ และความรู้สึก เมื่อตัวรับ CB1 จับกับแคนนาบินอยด์เรียบร้อยแล้วจะยับยั้งกระบวนการรับสารสื่อประสาท อีกทั้งยังมีความจำเพาะกับสาร THC หนึ่งในสารที่พบในน้ำมันกัญชาสำหรับสัตว์เลี้ยง
  • ตัวรับแคนนาบินอยด์ 2 หรือ CB2 ทำหน้าที่ร่วมกับเซลล์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน อย่าง Natural Killer Cells, Macrophages, B Cells, T Cells เซลล์ต่อมทอลซิล และเซลล์ม้าม จึงพบตัวรับชนิดนี้อยู่ทั่วร่างกาย เมื่อจับกับแคนนาบินอยด์แล้วจะขัดขวางกระบวนการสร้างการอักเสบในร่างกาย

สำหรับแคนนาบินอยด์ที่สามารถกระตุ้นการทำงานของระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีด้วยกันทั้งสิ้น 3 กลุ่ม ได้แก่

  • เอนโดแคนนาบินอยด์ (Endocannabinoids) ที่ร่างกายผลิตขึ้นมาเอง สามารถจับได้ทั้ง CB1และ CB2 เกี่ยวข้องกับความอยากอาหารและความเจ็บป่วยของร่างกาย
  • ไฟโตแคนนาบินอยด์ (Phytocannabinoids) แคนนาบินอยด์ที่พบในธรรมชาติ อย่างสาร CBD และ THC ที่พบในและมนุษย์ รวมทั้งในน้ำมันกัญชาสำหรับสัตว์เลี้ยงด้วย
  • แคนนาบินนอยด์สังเคราะห์หรือสารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติคล้ายกับแคนนาบินอยด์ที่พบในธรรมชาติและสามารถจับขับตัวรับแคนนาบินอยด์ในระบบ Endocannabinoid system ของร่างกายได้
น้ำมันกัญชาสำหรับสัตว์เลี้ยง_3

งานวิจัยน้ำมันกัญชากับสัตว์เลี้ยง

เช่นเดียวกับการใช้กัญชา น้ำมันกัญชา น้ำมันกัญชง และสารสกัดกัญชาบริสุทธิ์กับมนุษย์ ก่อนการนำผลิตภัณฑ์จากกัญชามาใช้กับสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์เศรษฐกิจชนิดอื่น ๆ เองก็ต้องมีการศึกษาและทดลองโดยนักวิทยาศาสตร์และสัตวแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ โดยมีรายงานหลายฉบับที่สนับสนุนแนวคิดที่ว่าน้ำมันกัญชาสำหรับสัตว์เลี้ยงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการบรรเทาอาการเจ็บป่วยในสัตว์ได้ อย่างการศึกษาคุณสมบัติในการบรรเทาปวดของสุนัขที่เป็นโรคข้อเสื่อมหรือ osteoarthritis โดย Verrico และคณะ ปี 2020 มีการศึกษากับสุนัขที่เป็นโรคนี้จำนวน 20 ตัว พบว่าสุนัขมีอาการดีขึ้น หากได้รับ CBD 1.2 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวสุนัข เช่นเดียวกับ Gamble และคณะ ในปี 2018 ที่ทำศึกษาด้วยการให้ hemp – derived CBD oil จำนวน 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวสุนัข 1 กิโลรัม โดยให้ทุก 12 ชั่วโมง ต่อเนื่องเป็นเวลา 4 ชั่วโมง ทำให้ค่าความเจ็บปวดหรือ pain score ลดลง ภายในสัปดาห์ที่ 2 ของการศึกษา

การรักษาอาการชักในสัตว์เลี้ยง

ส่วนการศึกษาคุณสมบัติของน้ำมันกัญชาสำหรับสัตว์เลี้ยงในการระงับอาการชัก ซึ่งเป็นสรรพคุณที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกให้ความสนใจเพราะมีงานวิจัยที่สนับสนุนว่าน้ำมันกัญชา ทั้งการศึกษาของอาภาศรและคณะ ปี 2021 ที่วิจัยยาสกัดกัญชาชนิด CBD สูงในการรักษาโรคลมชักรักษายากในเด็ก โดยพบว่ายาสารสกัดกัญชาชนิด CBD สูง มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคลมชักในเด็กและสามารถให้ยาได้ต่อเนื่องถึง 12 เดือน แต่จะพบผลข้างเคียงเล็กน้อย เมื่อเสริมข้อมูลจากงานวิจัยของ Devinsky O และคณะ ปี 2016 ที่ทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคลมชักมากกว่า 214 ราย อายุตั้งแต่ 1-30 ปี ด้วยการให้ CBD ขนาด 2-5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ก่อนจะเพิ่มเป็น 25  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน หรือ 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ขึ้นอยู่กับภาวะทนยาของผู้ป่วย ซึ่งพบว่าในสัปดาห์ที่ 12 ของการให้ยา ผู้ป่วยมีอาการชักลดลงร้อยละ 36 ของจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการชักเฉพาะ แต่หลังจากการรักษาเรียบร้อยแล้วมีอการชักลดลงถึงร้อยละ 55  ด้วยเหตุจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่นักวิทยาศาสตร์และสัตวแพทย์จะให้ความสนใจคุณสมบัติของน้ำมันกัญชาสำหรับสัตว์เลี้ยงในแง่ของการระงับภาวะชักในสัตว์เช่นเดียวกัน ซึ่งในปี 2019 McGrath และคณะ ได้ศึกษากับสุนัขจำนวน 16 ตัว โดยกลุ่มแรกการให้น้ำมันกัญชาขนาด 2.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักสุนัข 1 กิโลกรัม ทุก 12 ชั่วโมง ร่วมกับยากันชัก phenobarbital, potassium bromide, levetiracetam และ zonisamide และกลุ่มที่ 2 ให้เป็นยาหลอกกับยากันชัก พบว่าเมื่อทำการทดลองครบ 12 สัปดาห์สุนัขกลุ่มแรกมีการชักลดลง

ข้อควรระวัง

อย่างไรก็ตามการศึกษาประโยชน์ของน้ำมันกัญชาสำหรับสัตว์เลี้ยงนั้นถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับการศึกษาประสิทธิภาพของน้ำมันกัญชาและ CBD บริสุทธิ์ในมนุษย์ บวกกับการคำเตือนจากสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ให้ความเห็นว่าการใช้กัญชากับสัตว์ต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของสัตวแพทย์เท่านั้น เพราะนอกจากจะมีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์น้อยแล้ว จากการศึกษาความเป็นพิษของกัญชาต่อสัตว์ที่ผ่านมาพบว่า สุนัขมีความไวต่อในกัญชามากกว่ามนุษย์ ด้วยในสมองมีตัวรับแคนนาบินอยด์มากกว่า เมื่อได้รับกัญชาที่มีปริมาณ THC สูง สุนัขจะเกิดอาการเมากัญชาหรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยในรายงานในช่วง 2010 – 2015 มีรายงานว่าสุนัขที่ได้รับผลกัญชาเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 4 เท่า ซึ่งไม่ได้เกิดจากการให้น้ำมันกัญชาสำหรับสัตว์เลี้ยงโดยตรง แต่เป็นจากการสูดดมควันหรือการคุ้ยเขี่ยส่วนต่าง ๆ ของต้นกัญชา  ส่วนผลกระทบในแมวนั้นยังไม่มีการศึกษาด้านความเป็นพิษจากน้ำมันกัญชาสำหรับสัตว์เลี้ยง แต่มีกรณีตัวอย่างแมวที่ได้รับพิษจากประเทศโปแลนด์ เป็นแมวสายพันธุ์เปอร์เซียอายุ 6 ปี ได้สูดดมควันกัญชาที่เจ้าของสูบแล้วมีอาการกระวนกระวาย ก้าวร้าว ม่านตาขยาย น้ำลายไหล กลืนอาหารลำบาก ในช่วงแรกอาการทั้งหมดหายไปใน 15 ว้น แต่หลังจากนั้นอีก 3 สัปดาห์แมวมีอาการเลือดออกใต้ตาขาวเพิ่มเติม เมื่อตรวจเลือดพบปริมาณ THC ในเลือดสูง เพราะฉะนั้นการใช้น้ำมันกัญชาสำหรับสุนัขหรือน้ำมันกัญชาสำหรับแมวควรอยู่ในความดูแลของสัตวแพทย์เท่านั้น เพื่อป้องกันการเกิดอาการแพ้ที่เกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงที่ได้รับน้ำมันกัญชาสำหรับสัตว์เลี้ยงอย่างไม่ถูกต้อง

แนวโน้มการใช้น้ำมันกัญชาในสัตว์ของประเทศไทย

ตั้งแต่มีข่าวว่าในประเทศไทยปลดล็อกกัญชากัญชงในช่วงเดือนมิถุนายน 2565 ต้องยอมรับว่าไม่เพียงแต่ทำให้ประชาชนเท่านั้นที่ตื่นตัวกับการปลูกและใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของการกัญชาได้อย่างอิสระและถูกต้องตามกฏหมายแล้ว ทางหน่วยงานรัฐและผู้ประกอบอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เองก็ตื่นตัวไม่น้อยเช่นกัน อย่างทางกรมปศุสัตว์เองก็มีนโยบายผลักดันการพัฒนาพืชกัญชา กัญชง และกระท่อมสู่ธุรกิจอาหารสัตว์และเป็น First Mover รายแรกของตลาดโลกเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งทางการค้าโลก เมื่อบวกกับการเปิดกว้างในการทำวิจัยด้านกัญชามากขึ้นและการที่สารสกัด CBD ไม่ใช่ยาเสพติด จึงทำให้การนำ CBD จากกัญชาไปผสมในอาหารสัตว์ อาหารว่างสำหรับสัตว์ และน้ำมันกัญชาสำหรับสัตว์เลี้ยงมีทางเป็นไปได้มากขึ้นในอนาคต