น้ำมันกัญชงกับข้อควรรู้ก่อนใช้งาน

ไขข้อสงสัย กัญชงสูบได้หรือไม่ ดีอย่างไรต่อสุขภาพ?

หลังจากกฎหมายปลดล็อกให้ “กัญชา-กัญชง” ถูกถอดออกจากบัญชีสารเสพติดประเภทที่ 5 และประชาชนสามารถปลูกหรือนำมาใช้ในทางสันทนาการและทางการแพทย์ได้โดยไม่มีความผิด ชื่อของกัญชาและพืชที่มีลักษณะใกล้เคียงกันราวกับฝาแฝดอย่างกัญชง ก็ถูกนำไปใช้ในหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมความงาม อุตสาหกรรมทางการแพทย์ และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่หลายคนยังคงสับสนว่าแท้จริงแล้ว กัญชงกับกัญชาคือพืชชนิดเดียวกันหรือไม่ และมีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร รวมถึงกัญชงสูบได้หรือไม่ ออกฤทธิ์อย่างไรต่อสุขภาพ บทความนี้ขออาสาพาทุกคนไปรู้จักทุกแง่มุมของกัญชงแบบหมดเปลือกเอง

ความแตกต่างระหว่างกัญชงและกัญชา

แม้ชื่อและหน้าตาจะคล้ายกันเหมือนพี่น้อง แต่ในความเป็นจริงแล้ว กัญชงกับกัญชามีความแตกต่างกันอยู่หลายประการ โดยเราสามารถแบ่งความแตกต่างของพืชทั้ง 2 ชนิดนี้ได้ง่าย ๆ ดังนี้

ลักษณะของใบและลำต้น

หากมองผิวเผินแล้วอาจดูเหมือนกัน แต่ถ้าสังเกตให้ดี กัญชงกับกัญชาสามารถแยกออกจากกันได้ด้วยตาเปล่า โดยเริ่มจากลักษณะของใบ ซึ่งใบกัญชงจะมีสีเขียวอ่อน ใบเรียว เรียงตัวห่าง มีแฉกประมาณ 7-11 แฉก ในขณะที่ใบกัญชามีสีเขียวเข้ม ใบหนาและกว้าง เรียงตัวชิดติดกัน มีแฉกประมาณ 5-7 แฉก ส่วนลำต้นของกัญชงจะสูงเรียว บางต้นสูงกว่า 2 เมตร ส่วนลำต้นของกัญชาจะมีลักษณะเป็นพุ่มเตี้ย และสูงไม่เกิน 2 เมตร

ปริมาณของสาร THC

ทั้งกัญชงและกัญชามีสาร Tetrahydrocannabinol หรือสาร THC อยู่ทั้งคู่ โดยสารชนิดนี้จะออกฤทธิ์ลดอาการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดอาการคลื่นไส้ ส่งผลต่อประสาท อารมณ์ ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย โดยกัญชาจะมีปริมาณสาร THC สูงกว่า 1% ส่วนกัญชงจะมีไม่ถึง 1% เท่านั้น

ปริมาณของสาร CBD

จากงานวิจัยของดร.ราฟาเอล เมคูลัม นักวิจัยชาวอิสราเอลพบว่าสาร CBD หรือ Cannabidiol ช่วยลดการอักเสบในร่างกาย ช่วยรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รวมถึงช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจ และดีต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งในกัญชงมีปริมาณของสาร CBD เกิน 2% ขณะที่กัญชาจะมีไม่เกิน 2%

ลักษณะเด่นของกัญชง

กัญชงหรือ Hemp เป็นพืชล้มลุกที่ปลูกได้ในทุกสภาพอากาศ มีกิ่งก้านน้อย ส่วนเมล็ดมีขนาดใหญ่ ผิวเรียบ ส่วนต่าง ๆ ของต้นกัญชงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย และเพื่อให้สามารถนำมาใช้งานได้สะดวก ส่วนใหญ่จึงมักนำเมล็ดมาสกัดเป็นน้ำมันกัญชง ซึ่งในน้ำมันกัญชงจะอุดมไปด้วยกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า 3 และ 6 วิตามินบี วิตามินดี วิตามินอี และสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่น ๆ เหมาะกับการนำมาดูแลสุขภาพ

นอกจากจะสกัดเป็นน้ำมันกัญชงเพื่อให้ง่ายต่อการใช้ประโยชน์แล้ว ในสารสกัดกัญชงมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่สามารถช่วยคุมความมัน พร้อมกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และลดเลือนรอยแผลเป็น รอยดำ รอยแดงจากสิว เมล็ดกัญชงจึงถูกนำมาเป็นส่วนประกอบในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ส่วนใยกัญชงยังนิยมนำไปแปรรูปในงานสิ่งทอ เนื่องจากมีเส้นใยคุณภาพสูงปริมาณมาก แข็งแรงกว่าผ้าฝ้าย ผลิตได้ทั้งเชือก เยื่อกระดาษ และเสื้อผ้า โดยเสื้อผ้าที่ได้จากกัญชงจะมีลักษณะบางเบา ไม่ระคายเคืองผิว เหมาะกับอากาศร้อนของประเทศไทย

กัญชงสูบได้หรือไม่ ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ

กัญชงสูบได้หรือไม่?

คำถามยอดฮิตที่หลายคนสงสัย ว่ากัญชงสูบได้หรือไม่ และเพราะอะไรการสูบกัญชงถึงไม่เป็นที่พูดถึงเท่ากับการสูบกัญชา จริง ๆ แล้วกัญชงสามารถนำมาสูบได้เหมือนกัญชา แต่ไม่เป็นที่นิยมเท่า เพราะกลิ่น รสชาติ และความเพลิดเพลินระหว่างสูบนั้นไม่ดีเท่ากับกัญชา เนื่องจากในยุคแรก กัญชงถูกพัฒนาและปลูกเพื่อประโยชน์ในแง่อุตสาหกรรมเท่านั้น อีกทั้งยังมีสาร THC ที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายเคลิบเคลิ้มในปริมาณต่ำ เมื่อสูบเข้าไปอาจทำให้รู้สึกปวดศีรษะได้ แต่ปัจจุบัน ในหลายประเทศได้พัฒนากัญชงสำหรับสูบได้ขึ้นมาและกำลังเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงไม่แน่ว่าในอนาคตอันใกล้ เราอาจได้เห็นกัญชงสำหรับสูบในประเทศไทยด้วยก็เป็นได้

สรรพคุณของกัญชงต่อสุขภาพ

ช่วยผ่อนคลาย สดชื่น หลับสบาย

ใบของกัญชงช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย สดชื่น นอนหลับสบายขึ้น บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ไมเกรน และแก้กระหาย โดยส่วนมากมักนำใบกัญชงทั้งใบสดและใบแห้งไปต้มในน้ำเดือดนาน 2-3 นาที แล้วนำมาดื่มเป็นชา โดยสามารถดื่มได้ทั้งแบบร้อนและแบบเย็น

แก้ท้องร่วง โรคบิด

นอกจากจะมีฤทธิ์ให้ความผ่อนคลายแล้ว ใบกัญชงยังมีสรรพคุณทางยาในการแก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย โรคบิดได้ หรือหากนำเมล็ดกัญชงสด ๆ มาเคี้ยว ยังช่วยสลายก้อนนิ่วได้อีกด้วย

บำรุงหัวใจและหลอดเลือด

ในน้ำมันกัญชงมีกรดไลโนเลอิก ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อหัวใจและหลอดเลือด ช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง แต่หากเป็นผู้ป่วยที่เป็นโรคเหล่านี้อยู่แล้ว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ

ลดปวดและอักเสบ

กรดแกรมมาไลโนเลนิกในน้ำมันกัญชงมีคุณสมบัติลดปวดและต้านอักเสบ จึงมีประสิทธิภาพในการบรรเทาโรคที่เกิดจากการอักเสบ เช่น โรคเกาต์ โรครูมาตอยด์ โรคลำไส้แปรปรวน และอาการปวดกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี

เมื่อได้คำตอบแล้วว่ากัญชงสูบได้หรือไม่ และสนใจอยากใช้ประโยชน์จากสมุนไพรชนิดนี้ ลองหันมาใช้เซรั่มและน้ำมันกัญชง CBD Greenbird สกัดจากดอกกัญชงสายพันธุ์ทางการแพทย์นำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา ปราศจากสารพิษ ปลอดภัยต่อร่างกาย พร้อมให้คำแนะนำการใช้งานโดยผู้เชี่ยวชาญตัวจริง

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *