ทำความรู้จักกับ 3 สายพันธุ์กัญชาน่ารู้

ถึงแม้ในโลกจะมีกัญชานับหมื่นสายพันธุ์ แต่แท้จริงแล้วสายพันธุ์เหล่านั้นเป็นสายพันธุ์กัญชาที่แตกย่อยออกไปจาก 3 สายพันธุ์หลัก ซึ่งได้แก่ซาติว่า อินดิก้า และรูเดอราลิส

เพื่อให้สอดคล้องกับที่ประเทศไทยได้ประกาศใช้กฎหมายที่ว่าด้วยนโยบายการปลดล็อก ‘กัญชง-กัญชา’ ออกจากบัญชียาเสพติดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่งผลให้พืชชนิดนี้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกคนจึงควรศึกษาถึงรายละเอียดของกัญชาทั้ง 3 สายพันธุ์ เพื่อให้เข้าใจถึงความแตกต่าง ทั้งในแง่รูปลักษณ์ของต้น การออกฤทธิ์ และคุณประโยชน์ เพื่อให้สามารถเลือกซื้อเลือกใช้กัญชาทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

กัญชาสายพันธุ์ซาติว่า

ซาติว่า (Sativa) เป็นคำศัพท์ที่มีรากมาจากภาษาละติน สื่อความหมายถึงการเพาะปลูก โดยชื่อนี้ถูกระบุให้ใช้เป็นชื่อของสายพันธุ์กัญชาครั้งแรกในปี ค.ศ. 1753 ในการจัดวงศ์พืชโดย คาโรรัส ลินเนียส (Carolus Linnæus) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ซึ่งสอดคล้องกับแหล่งกำเนิดของกัญชาสายพันธุ์นี้ที่อยู่ในบริเวณโดยรอบเส้นศูนย์สูตร เช่น ประเทศโคลัมเบีย เม็กซิโก ตอนกลางของทวีปแอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สามารถใช้สายตาแยกแยะกัญชาสายพันธุ์ซาติ ว่าแตกต่างจากสายพันธุ์อื่น ๆ ได้จากการดูลักษณะเด่นดังต่อไปนี้

  • ลำต้นหนากว่ากัญชาสายพันธุ์อินดิก้า และรูเดอราลิสอย่างชัดเจน
  • เมื่อโตเต็มที่ ลำต้นอาจสูงได้ถึง 6-7 เมตร
  • ลักษณะใบเรียวยาว และมีสีเขียวที่อ่อนกว่ากัญชาพันธุ์อินดิก้า
  • จำนวนแฉกเฉลี่ยของใบอยู่ที่ประมาณ 5-9 แฉก
  • เติบโตได้ดีในที่มีแสงแดดส่องถึง และอากาศร้อน
  • นิยมเก็บเกี่ยวหลังปลูกประมาณ 9-16 สัปดาห์

นอกจากลักษณะภายนอกเหล่านี้แล้ว อีกหนึ่งจุดเด่นที่สุดของกัญชาสายพันธุ์ซาติว่าคือปริมาณของสาร THC (Tetrahydrocannabinol) ซึ่งออกฤทธิ์เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นประสาทที่มากกว่ากัญชาสายพันธุ์อื่นอย่างชัดเจน

กัญชาสายพันธุ์อินดิก้า

ภายหลังการค้นพบกัญชาสายพันธุ์ซาติว่าเพียงสามทศวรรษ ในปี ค.ศ. 1785 ฌอง-แบ๊บติสท์ ลามาร์ค (Jean-Baptiste Lamarck) นายทหารชาวฝรั่งเศส ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านชีววิทยา ได้ตีพิมพ์เรื่องราวของกัญชาพันธุ์อินดิก้าเผยแพร่สู่สาธารณชน ทำให้เป็นครั้งแรกที่โลกได้รู้จักกับสายพันธุ์กัญชานี้

แหล่งกำเนิดที่มีการค้นพบกัญชาสายพันธุ์อินดิก้าอยู่ที่บริเวณประเทศอินเดีย รวมถึงในแถบตะวันออกกลางของทวีปเอเชีย ด้วยความต่างด้านแหล่งกำเนิด เป็นเหตุผลที่ทำให้ลักษณะภายนอกของกัญชาสายพันธุ์นี้แตกต่างจากทั้งซาติว่าและรูเดอราลิส โดยลักษณะเด่นของกัญชาสายพันธุ์อินดิก้ามีดังต่อไปนี้

  • ลำต้นเป็นพุ่มเตี้ย โดยความสูงเฉลี่ยของต้นที่โตเต็มที่ จะอยู่แค่เพียง 180 เซนติเมตรเท่านั้น
  • กิ่งก้านดกหนา
  • ใบมีสีเขียวที่เข้มกว่า รวมถึงขนาดใบที่กว้างและสั้นกว่าสายพันธุ์ซาติว่า
  • 6-8 สัปดาห์คือช่วงที่เหมาะกับการเก็บเกี่ยวมากที่สุด
  • ชื่นชอบที่ร่มและอากาศเย็น

นอกจากลักษณะเด่นภายนอกเหล่านี้แล้ว จุดเด่นของกัญชาพันธุ์อินดิก้าเมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์อื่น ๆ คือการมีทั้งสาร CBD (Cannabidiol) ซึ่งออกฤทธิ์ระงับประสาท ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดอาการปวดเรื้อรัง และสาร THC ซึ่งออกฤทธิ์เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นประสาทในปริมาณสูง

กัญชาพันธุ์ อินดิก้า ซาติก้า

กัญชาสายพันธุ์รูเดอราลิส

ในปี ค.ศ. 1924 ถือเป็นศักราชสำคัญแห่งประวัติศาสตร์กัญชา เนื่องจากเป็นปีที่ ดี.อี. จานิสเชสกี้ (D. E. Janischewsky) นักพฤกษศาสตร์ชาวรัสเชียได้ตีพิมพ์เรื่องราวของกัญชาสายพันธุ์รูเดอราลิสสู่สาธารณะ ก่อนที่ต่อมากัญชาสายพันธุ์นี้จะกลายเป็นหนึ่งในสายพันธุ์กัญชาหลักของโลก

กัญชาสายพันธุ์รูเดอราลิสมีต้นกำเนิดจากบริเวณตอนกลางและตะวันออกของทวีปยุโรป ด้วยเหตุนี้ลักษณะภายนอกจึงค่อนข้างแตกต่างจากกัญชาสายพันธุ์อื่น ๆ อย่างชัดเจน ดังต่อไปนี้

  • ดูคล้ายวัชพืช เนื่องจากลำต้นเตี้ยที่สุดในบรรดา 3 สายพันธุ์
  • ใบรูปทรงกว้าง และโดดเด่นด้วย 3 แฉก
  • สามารถพบได้ทั้งในอากาศร้อนและเย็น

ในส่วนของการออกฤทธิ์และสารต่าง ๆ ในกัญชาสายพันธุ์รูเดอราลิสก็มีความแตกต่างกับสายพันธุ์ซาติว่าและอินดิก้าอย่างชัดเจน เนื่องจากมีปริมาณสาร THC (Tetrahydrocannabinol) ที่ต่ำ ในขณะที่ปริมาณสาร CBD (Cannabidiol) จะมีอยู่สูงสุด

กัญชาสายพันธุ์ไหนเหมาะกับการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์

ถึงแม้สาร THC (Tetrahydrocannabinol) จะมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ เช่น ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย นอนหลับ ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และช่วยกระตุ้นให้อยากอาหาร แต่ก็มีการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทที่มากเช่นกัน เช่น ชวนให้รู้สึกเคลิบเคลิ้ม และหากได้รับติดต่อเป็นเวลานานก็อาจเกิดการเสพติดได้

ดังนั้น การใช้กัญชาในทางการแพทย์จึงขึ้นอยู่กับสาร CBD เป็นสำคัญ เนื่องจากสารชนิดนี้มีคุณประโยชน์มากมาย เช่น ลดการอักเสบ ลดการชักเกร็ง บรรเทาอาการเจ็บปวดเรื้อรังและลดอาการคลื่นไส้หลังการทำเคมีบำบัดจากโรคมะเร็ง บรรเทาอาการโรคเบาหวาน บรรเทาอาการของโรค ALS หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง และอีกมากมาย ที่สำคัญคือ CBD จะไม่ออกฤทธิ์ทำให้รู้สึกเคลิบเคลิ้ม ชวนให้เสพติด

ด้วยเหตุนี้ กัญชาที่เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ที่สุดคือสายพันธุ์รูเดอราลิสที่มีปริมาณสาร THC ต่ำ แต่ CBD สูง อย่างไรก็ตาม เพื่อความสมบูรณ์ของคุณประโยชน์ แนวทางที่ได้รับความนิยมที่สุดคือการนำกัญชาสายพันธุ์รูเดอราลิสไปผสมข้ามสายพันธุ์ จนกลายเป็นสายพันธุ์ไฮบริด ก่อนที่จะนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์

เมื่อได้คำตอบแล้วว่ากัญชาแต่ละสายพันธุ์แตกต่างกันอย่างไร รวมถึงสายพันธุ์กัญชาไหนเหมาะกับการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์มากที่สุด ก็จะทำให้คุณรู้ว่า การใช้กัญชาเป็นทางเลือกในการบรรเทาอาการเจ็บป่วยย่อมมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสำหรับผู้ที่สนใจสามารถสั่งซื้อผลิตภัณฑ์กัญชง-กัญชาคุณภาพสูงได้ที่ CBD Greenbird เรามีจำหน่ายทั้งน้ำมันกัญชา น้ำมันกัญชง ชากัญชา เซรั่มกัญชง และอีกมากมาย สินค้าผลิตจากวัตถุดิบที่มีความบริสุทธิ์และเป็นธรรมชาติ 100% ปราศจากสารพิษ โลหะหนัก สารฆ่าแมลงและจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *